วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

โดเมน คือ อะไร

ชื่อที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป


โดเมนเนม หรือไอพีแอดเดรส (Domain Name) เป็นชื่อสำหรับเรียกชื่อที่อยู่ของเวบเพจ (web page) หรือ โฮมเพจ (home page) ซึ่งแต่เดิมถูกระบุโดยใช้ตัวเลขแทน เช่น 202.57.191.121 เป็นต้น ชื่อ โดเมน ถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับการดำเนินธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต เพราะจะเป็นที่อยู่ที่ใช้แจ้งให้ผู้อื่นได้ทราบว่า ข่าวสารประชาสัมพันธ์ของบริษัทถูกเก็บไว้ที่ใด เป็นที่อยู่หน้าร้านอิเล็กทรอนิกส์บนอินเตอร์เน็ตที่สามารถตกแต่งได้หลากรูปหลายรูปแบบ สะดวกและประหยัด
เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้ โดเมนเนม เดิมได้ต่อไป

Sub Domain

คือ เว็บย่อยของเว็บไซต์ของเราอีกที โดยปกติถ้ามี โดเมน ชื่อ www.thaihostsave.com เราจะเข้าชมเว็บไซต์ของเราโดยพิมพ์ www.thaihostsave.com
แต่หากเราต้องเข้าชมเว็บย่อยของเราจะต้องพิมพ์ http://webhosting.thaihostsave.com มีประโยชน์สำหรับท่านที่มีธุรกิจหลายประเภท เป็นการจำแนกแยกแยะหมวดหมู่ธุรกิจ

IP Address

หมายเลขไอพี
หรือ ไอพีแอดเดรส (Internet Protocol Address) คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอล Internet Protocol คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสจำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร


เนื่องจากหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตนั้น เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก ทำให้การอ้างถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบอินเทอร์เน็ตไม่สะดวกต่อผู้ใช้
ดังนั้น จึงมีระบบชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์มาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีชื่อเรียกว่า DNS (Domain Name Server) หรือระบบชื่อโดเมนขึ้นมา เพื่อเป็นการสะดวกต่อผู้ใช้ โดยที่ DNS จะทำการแปลงจากชื่อเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ตนั่นเองเช่น


www.ThaiHostSave.com -----> DNS ----> 203.57.163.223

DNS (Domain Name Server)

หน้าที่ของ DNS คือ เก็บข้อมูลของชื่อ Domain และ ไอพีแอดเดรส เช่น www.Thaihostsave.com มี ไอพีแอดเดรส 202.57.163.223 คอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูล DNS นี้เรียกว่า ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server) เมื่อคอมพิวเตอร์เรียกเว็บไซต์ www.Thaihostsave.com เราต้องระบุชื่อเว็บไซต์ให้กับโปรแกรมประเภทบราวเซอร์ เช่น IE จากนั้นบราวเซอร์จะทำการสอบถามไปยัง DNS Server เพื่อขอทราบหมายเลขไอพีแอดเดรส www.Thaihostsave.com จากนั้น DNS Server จะแจ้ง หมายเลขไอพีแอดเดรส ของ www.Thaihostsave.com ให้ทราบ เมื่อได้ ไอพีแอดเดรส ของ www.Thaihostsave.com แล้ว บราวเซอร์จะติดต่อไปยังที่อยู่หรือ Web Server ของ www.Thaihostsave.com หากพบแล้วก็ทำการร้องขอข้อมูลจาก Web Server นั้น และ Web Server นั้นจะส่งข้อมูลของ www.Thaihostsave.com กลับมาที่บราวเซอร์ เราจึงเห็นเว็บไซต์นั้นได้


เนื่องจากชื่อ Domain นั้นสัมพันธ์กับ Web Server โดยตรง ดังนั้น การจดทะเบียนชื่อ Domain นั้น จึงต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับ Web Server ได้แก่ ชื่อ Name Server 2 ชุด ได้แก่ Primary Name Server และ Secondary Name Server ซึ่ง Name Server อาจเรียกเป็น Domain Name Server หรือ DNS Server ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Domain โดยปกติระบบใช้ข้อมูลจาก Primary Name Server เป็นหลัก แต่ในกรณีที่ Primary Name Server มีปัญหา ระบบก็จะเปลี่ยนมาใช้ Secondary Name Server แทน


Primary Name Server: ns.thaihostsave.com

Secondary Name Server: ns2.thaihostsave.com

การตั้งชื่อโดเมนเนม

อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม

ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร
ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกันและเครื่องหมาย - โดยต้องไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย - และต้องไม่มี Space และต้องจด โดเมนเนม อย่างน้อย 2 ตัว

การจดทะเบียนโดเมน

การจดทะเบียนภายในประเทศ
จะได้นามสกุลโดเมนเนมเป็น .CO.TH .OR.TH .AC.TH IN.TH
เช่นนามสกุล ".CO.TH" มีคนจดมากกว่าชนิดอื่นๆ เป็นเวบไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป การจดทะเบียนชื่อโดเมน ต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อบริษัท หรือชื่อย่อของชื่อบริษัท ซึ่งจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้นการจดทะเบียนจึงต้องใช้สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือสำเนาใบรับรอง หรือสำเนาใบ ภ.พ. 20 เป็นหลักฐาน

นามสกุล .OR.TH
ใช้ทำเวบไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน

นามสกุล .AC.TH
เป็นเวบไซตืของสถานศุกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน

นามสกุล .IN.TH
เป็นเวบไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน

นามสกุล .GO.TH
เป็นเวบไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่

นามสกุล NET.TH
เป็นเวบไซต์เกี่ยวกับบริษัทที่เกียวกับระบบ Network หรือ ISP
(ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทย



การจดทะเบียนในประเทศ มีกฏระเบียบมาก ต้องจดทะเบียนแบ่งประเภทตามที่เขาแบ่งไว้ จึงจดทะเบียนได้ยากกว่าการจดทะเบียนต่างประเทศ ปัจจุบันการจดทะเบียนภายในประเทศ ยังถือว่ามีน้อยมาก เนื่องจากการจดทะเบียนมีข้อยุ่งยากดังที่กล่าวข้างต้น และมูลค่าของเวบไซต์มักจะถูกมองว่ามีค่าน้อยกว่าการจดเบียน โดเมนเนมที่มีนามสกุลเป็น".COM" กับศูนย์จดทะเบียนต่างประเทศ ทั้งๆ ที่มีความสามารถเหมือนกัน

การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
จะได้โดเมนมีนามสกุลเป็น .COM .NET .ORG

นามสกุล .COM
ใช้ทำเวบไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเวบไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเวบไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย

นามสกุล .NET
ใช้ทำเวบไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเวบไซต์บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย

นามสกุล .ORG
ใช้ทำเวบไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเวบไซต์ประเภทอื่นด้วย ปัจจุบันได้เกิดโดเมนชนิดอื่นขึ้นอีกมากมาย เนื่องจากว่ามีการพยายามแบ่งประเภทเวบไซต์ออกไป และขณะเดียวกันชื่อโดเมนก็เหลือน้อยลง ดังมีรายละเอียดดังนี้

.cc เป็นโดเมนที่คาดว่าน่าจะมีความนิยมทัดเทียมกับ .com ในเวลาอันใกล้นี้เนื่องจาก .com แทบจะไม่มีชื่อดีๆ เหลืออยู่แล้ว การนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้กับเวบไซต์ธุรกิจโดยทั่วไปได้

.biz สำหรับเวบไซต์ธุรกิจโดยทั่วไป เป็นโดเมนน้องใหม่ พึงเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มธุรกิจที่เป็น ธุรกิจจริงๆ ซึ่งก็ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักค่อนข้างเร็ว

.info ใช้สำหรับเวบไซต์ที่ให้รายละเอียดเกียวกับข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลของประเทศต่างๆ เป็นต้น

.ws เป็นชนิดของชื่อเวบไซต์หนึ่งที่พยามยามสร้างขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับ .cc การนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้ได้กับทุประเภทเวบไซต์

.tv เป็นเวบไซต์ของสื่อโฆษณาต่างๆ โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพและเสียง ปัจจุบันค่อนข้างได้รับความนิยมจากเวบไซต์ประเภทสื่อพอสมควร

การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศนั้นมักไม่มีระเบียบบังคับมาก ดังนั้นจึงมีการจดทะเบียนโดเมนนามสกุลชนิดต่างๆ ไปใช้ไม่ค่อยถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ที่เขาได้ตั้งกันไว้ โดยส่วนใหญ่มักนิยมจดทะเบียนเป็นนามสกุล .COM เสียมากกว่า ซึ่งปัจจุบันชื่อดีๆ แทบจะไม่มีเหลือแล้ว และขายต่อกันเป็นเงินหลายหมื่นดอลล่าเลยทีเดียว

การจดทะเบียนโดเมนนามสกุล .COM เป็นที่นิยมมาก ชื่อโดเมนดีๆ สามารถนำไปขายได้ มีเวบไซต์ต่างประเทศหลายๆ เวบไซต์ได้เปิดบริการขายและประมูลชื่อโดเมนกัน สำหรับนักธุรกิจในบ้านเราส่วนใหญ่ก็มักจะจดทะเบียนเป็น .COM เช่นกัน เนื่องจากเป็นที่รู้จักมากกว่าสำหรับชาวต่างชาติ

แม้ว่าปัจจุบันจะมีโดเมนเนมถูกนำเสนอออกมาหลายประเภท หลายชนิดก็ตาม แต่ .com .net และ .org ก็ยังถือว่าเป็นโดเมนเนมมาตราฐานสากล ที่ได้รับความนิยมและยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก

วิธีการย้ายโดเมน

การโอนย้ายโดเมนเนม มี 2 ลักษณะ คือ
Transfer Registrar
คือ การเปลี่ยนผู้ให้บริการโดเมนเนมหลัก เช่น โอนจากที่นึง มาจดกับอีกที่นึงเป็นต้น การ Tranfer Registrar สิ่งที่ท่านจะต้องทำก่อนการโอนย้ายโดเมนเนม ได้แก่ ติดต่อผู้ให้บริการโดเมนเนมรายเดิมของท่าน เพื่อให้ทำการ Unlock โดเมนเนม พร้อมกับขอหมายเลข Transfer Secret หรือ Authentic Code มาด้วย


Transfer Reseller
คือ การเปลี่ยนตัวแทนผู้ให้บริการโดเมน โดยโดเมนเนมยังคงอยู่กับผู้ให้บริการโดเมนเนมหลัก (Registrar) รายเดิม เช่น โดเมนเนมของท่านเดิมจดไว้กับ Unchalee โดยจดผ่านทางThaidomainsave.Com แต่ต่อมาต้องการ เปลี่ยนตัวแทนผู้ให้บริการ จาก Thaidomainsave.Com มาอยู่กับ ThaiHostSave.Com ซึ่งเป็น Reseller ของ Unchalee เหมือนกัน เป็นต้น การ Transfer Reseller ท่านต้องแจ้งให้ผู้บริการโดเมนเนมเดิมของท่าน เป็นผู้ดำเนินการให้เท่านั้น ท่านไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง

วิธีเช็ครายละเอียดโดเมน

Whois เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับการจดชื่อ โดเมน ที่เผยแพร่แกสาธารณชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดต่อเมื่อมีปัญหาทางเทคนิคหรือปัญหาเรื่องสิทธิการครอบครองชื่อ
ในฐานข้อมูลนี้จะประกอบด้วยรายละเอียดของผู้จดทะเบียนและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ Registrant, Administrator, Technical contactor และ Billing Contactor ดังคำว่า “who is” รวมถึงชื่อ Name Server ชื่อผู้รับจดทะเบียนไว้แล้ว (Registration Service Provider) และวันหมดอายุของ โดเมนเนม



Registrant Contact คือ Contact ที่แสดงถึงชื่อเจ้าของ Domain นั้นๆ ดังนั้น ในการจดโดเมน คุณควรตรวจสอบในส่วนนี้ควรจะเป็นชื่อของคุณ

Admin Contact คือ Contact ที่มีอำนาจสูงสุดในการจัดการโดเมนเนม โดยทั่วไปจะมีข้อมูลเหมือนกับ Registrant Contact ดังนั้น ในการจดโดเมน คุณควรตรวจสอบในส่วนนี้ควรจะเป็นชื่อของคุณ และ Email ของ Admin Contact ควรจะเป็นของคุณด้วย


Technical Contact คือ Contact ของเจ้าหน้าที่เทคนิคในการติดต่อเรื่องโดเมน โดยทั่วไปคือผู้มีอำนาจในการแก้ไข DNS ของโดเมน



Billing Contact คือ Contact ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากโดเมนเนม โดยทั่วไปคือการต่ออายุและการย้ายโดเมน


เราสามารถุตรวจสอบรายละเอียดได้ที่เว็บไซด์ www.digicert.com/whois

วงจรชีวิต

ขั้นแรก เจ้าของ โดเมน จะได้รับแจ้งเตือนให้ต่ออายุ

ขั้นที่สอง เมื่อหมดอายุแล้วยังสามารถต่ออายุได้ภายใน 45 วัน (ต้องต่ออายุกับผู้ให้บริการเดิมเท่านั้นไม่สามารถโอนย้ายได้เป็นระยะๆแรกก่อนถึงวันหมดอายุ

ขั้นที่สาม หลังจากนั้น โดเมน จะถูกยึดโดยนายทะเบียนเป็นเวลา 30 วัน หากต้องการต่ออายุในช่วงนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียม5,400 บาท

ขั้นที่สี่ หมดเขตการต่ออายุ โดเมน จะถูกยึดไว้อีก 5 วัน

ขั้นสุดท้าย โดเมน ว่าง สามารถจดใหม่ได้ทันที หากชื่อ โดเมน เป็นที่ต้องการของตลาด อาจถูกแย่งซื้อเพื่อเก็งกำไร

http://webhosting.thaihostsave.com/domain-cycle