วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Web Hosting คืออะไร

Web Hosting ( เว็บโฮสติ้ง ) เป็นบริการให้เช่าพื้นที่ในการนำเว็บไซต์มาฝาก เพื่อให้เว็บไซต์คุณสามารถออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตได้ โดยเป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ คือ ผู้ใช้บริการไม่ต้องยุ่งยากกับระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพราะทางผู้ให้บริการ Web Hosting จะเตรียมการทุกอย่างไว้ให้เรียบร้อย แต่คุณต้องทำการ จดโดเมน ก่อนแล้วจึงมาเช่า Web Hosting เพื่อเก็บเว็บไซต์

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

Buckyballs ทำลายเซลล์ได้-ความเสี่ยงจากนาโนเทคโนโลยี

Hosting
จากการศึกษาล่าสุดพบว่า Buckyballs ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดนาโนจะทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ร่างกายได้ โดยโมเลกุลของมันจะสามารถซึมผ่านเข้าไปในเซลล์ของคนและสัตว์ได้อย่างง่ายดาย และมีความเป็นไปได้มากที่โมเลกุลของ buckyball จะเป็นพิษต่อคนและสิ่งมีชีวิตอื่นได้

Peter Tieleman นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย Calgary ได้ใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ เพื่อออกแบบปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลของ C-60 หรือ buckyball กับเยื่อหุ้มเซลล์และพบว่าอนุภาคนาโนนี้สามารถผ่านเข้าไปในเซลล์ได้โดยแพร่ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปและปราศจากการทำลายเชิงกลด้วย

Buckyball ได้ถูกผลิตขึ้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเคลือบและวัสดุ มีการจำหน่ายแพร่หลาย แต่ไม่มีการตรวจหาความเป็นพิษมาก่อน จากงานวิจัยพบว่า buckyball สามารถข้ามผ่านระหว่างผนังที่กั้นกระแสเลือดและสมองได้ และเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์ ซึ่งทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายเกี่ยวกับความเป็นพิษของมันและผลกระทบเมื่อมัน ถูกปล่อยออกไปสู่สิ่งแวดล้อม

ผลจากแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์พบว่าอนุภาคของ buckyball สามารถถูกละลายในเยื่อหุ้มเซลล์ได้ และผ่านเข้าไปภายในเซลล์ จากนั้นจะกลับคืนไปสู่รูปอนุภาคตามเดิมทำให้เซลล์นั้นถูกทำลายได้

โมเลกุลทรงกลมของ C-60 ถูกค้นพบในปี 1985 ทำให้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Sussex และ Rice ได้รับรางวัล Nobel สาขาฟิสิกส์ และมีการตั้งชื่อโมเลกุลทรงกลมและกลวงว่า Buckminsterfullerene ตามชื่อสถาปนิกชาวอเมริกัน Richard Buckminster Fuller ผู้ประดิษฐ์ Geodesic dome (หลังคาโค้งนูนที่มีตาข่ายของเส้นประกอบด้วยส่วนผสมของพีระมิดสามเหลี่ยมและ วงกลม) อ่านต่อ


วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ศูนย์รวมเว็บไซต์ทั่วโลก แปลเป็นไทย



เป้าหมายหนึ่งของบริษัทเอเชีย ออนไลน์ คือทำให้ทุกชาติในภูมิภาคเอเชียเข้าถึงองค์ความรู้และข้อมูลในระดับเดียวกับ ประเทศพัฒนาแล้วทางเศรษฐกิจของโลก ทางบริษัทเริ่มต้นด้วยการสร้างหน้าเว็บข้อมูลความรู้เชิงการศึกษาขึ้นเป็ภ าษาไทยกว่า 3 ล้านหน้าเว็บ โดยโครงการจับคู่ภาษาได้ใช้เทคโนโลยีการแปลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ซึ่งเรียนรู้จากทักษะการรู้การจำของมนุษย์ เพื่อให้ได้การแปลเนื้อหาจากสารทั่วโลกที่มีคุณภาพดี สารที่แปลแล้วสามารถเข้าอ่านได้ฟรีสำหรับคนไทยทุกคนผ่านทางเว็บศูนย์รวมภาษา ไทยของเอเชีย ออนไลน์

กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 3 กันยายน 2008 เอเชีย ออนไลน์ประกาศเปิดตัวเว็บศูนย์รวม (portal) ภาษาไทยรูปแบบทดลองใช้ โดยเพิ่มปริมาณข้อมูลขึ้นเป็นสองเท่าจากที่เคยมีอยู่ 3 ล้านหน้าเว็บ เป็นทั้งหมดกว่า 6 ล้านหน้าเว็บ

เอเชีย ออนไลน์ได้รับการลงความเห็นว่าเป็น “โครงการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” ด้วยการเข้าถึงสารได้ง่ายขึ้นจากการแปลเป็นภาษาไทยกว่าสามล้านหัวเรื่อง จากแหล่งข้อมูลที่สำคัญและได้รับความนิยมที่สุดในปัจจุบัน ประกอบด้วยวิกิพีเดีย (Wikipedia), ซีไอเอเวิรล์ดแฟคบุ๊ค (CIA World Fact Book) และหนังสืออีกกว่า 25,000 เล่ม แหล่งข้อมูลที่อุดมไปด้วยความรู้เหล่านี้ได้พิสูจน์ถึงการเป็นแรงกระตุ้น สำคัญของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการศึกษาในกลุ่มประเทศที่พัฒนาทางเศษรฐกิจ แล้ว

Hosting

นายดิออน วิกกินส์ ประธานกรรมการบริหารของเอเชีย ออนไลน์ กล่าวว่า “เป้าหมายของเราคือการให้เครื่องมือและข้อมูลทุกอย่างที่ประเทศไทยต้องการ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในยุคที่ความรู้คือปัจจัยสำคัญของเศรษฐกิจทั่วโลก ทุกวันนี้ภาษาไทยมีให้อ่านกันบนอินเตอร์เน็ตน้อยเกินควรอย่างน่าเศร้า เช่นเดียวกับภาษาอื่นในเอเชียอีกหลายภาษา ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ทั่วภูมิภาคเอเชียถูกปิดกั้นการได้รับประโยชน์ที่ใหญ่ที่ สุดของอินเตอร์เน็ต นั่นคือการเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ที่มีค่า แต่ด้วยการแปลเนื้อหาทางการศึกษาที่สำคัญและมีคุณค่าอย่างมากมายเป็นภาษาไทย เราได้ขจัดอุปสรรคสุดท้ายในการใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย นั่นคืออุปสรรคด้านภาษา”

เอเชีย ออนไลน์ ให้ความสำคัญกับสารที่จะส่งผลดีต่อประเทศไทย นั่นคือสารด้านการศึกษา, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, วัฒนธรรม, คณิตศาสตร์, ประวัติศาสตร์, การอ่านออกเขียนได้, การเมือง และศิลปะ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะเพิ่มเว็บไซต์ภาษาไทยมากขึ้นเป็นสองเท่าจากที่มี อยู่เดิม แต่ยังเป็นเหตุที่มีค่าและกระตุ้นให้คนไทยเข้ามาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น

“เรากำลังจะทำข้อมูลทั้งหมดนี้ให้เป็นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตที่สามารถ เข้าถึงได้และอ่านได้ฟรีทางเว็บศูนย์รวมเอเชีย ออนไลน์ภาษาไทย ปัจจุบันเว็บศูนย์รวมภาษาไทยของเรายังเป็นรูปแบบทดลองใช้งานอยู่ ในระหว่างที่เราทำการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของการแปล และเพิ่มหน้าข้อมูลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง” นายวิกกินส์กล่าว “นี่คือภาระที่ใหญ่มากและจะต้องใช้เวลาและการสนับสนุนจากคนในประเทศอีกพอ สมควร ให้สมกับว่านี่คือโครงการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” อ่านต่อ


วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความหวังใหม่ของวัคซีน HIV ที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้

Hosting
บริษัท Advanced Bioscience Laboratories (ABL)และ University of Massachusetts Medical School ได้รายงานว่าการคิดค้นวัคซีนสำหรับเชื้อ HIV ชนิดพิเศษของพวกเขานั้นมีประสิทธิผลในการที่จะกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งและสมดุลย์ในเหล่าอาสาสมัครผู้มีสุขภาพดีได้ และด้วยข้อมูลจากการค้นพบขั้นต้นเหล่านี้ ทำให้มีการทดสอบวิเคราะห์บนตัวอย่างทดลองของอาสาสมัครโดยนักวิจัยที่ University of Alabama ที่เบอร์มิ่งแฮมเองเพื่อยืนยันการมีอยู่ของการตอบสนองจาก T cells ที่อยู่ได้นานและมีคุณภาพสูงต่อเชื้อHIV

ในการทดลองทางการแพทย์ในระยะที่หนึ่งที่สนับสนุนโดย National Institute of Allergy and Infectious Diseases หรือ NIAID นั้น , ก่อนอื่นกลุ่มอาสาสมัครจะได้รับการฉีดวัคซีน DNA สามตัวที่ส่งแอนติเจนที่ทำหน้าปกป้องคุ้มครองมาจากเชื้อ HIV ตามด้วยการฉีดวัคซีนโปรตีนอีกสองตัวซึ่งส่วนประกอบของมันจะไปตรงกับตัวที่มีอยู่ในวัคซีน DNA ก่อนหน้านี้ด้วย

นักวิทยาศาสตร์จาก Advance Bioscience Laboratories และ University of Massachusetts Medical School และผู้ร่วมงานของพวกเขาได้ค้นพบว่าวิธีการผสมตัวยานี้นั้นมีประสิทธิภาพสูงมากในการชักนำให้เกิดแอนติบอดี้ที่แข็งแกร่งและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่มีเซลล์เป็นสื่อกลางในกลุ่มผู้อาสาสมัครได้ “การได้รับความท้าทายในการพัฒนาวัคซีนสำหรับเชื้อ HIV นั้น นักวิทยาศาสตร์ได้เชื่อมานานว่า วัคซีน HIV ตัวสุดท้ายที่มีประสิทธิผลนั้นจะต้องการการเหนี่ยวนำของการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่มีความสมดุลย์ ซึ่งผลการทดสอบของเราได้พิสูจน์ว่าการใช้วิธีการผสมวัคซีนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้นสามารถกระทำได้” Phillip Markham จาก ABL , หัวหน้าผู้ตรวจสอบของการพัฒนาวัคซีนครั้งนี้ที่กระทำภายใต้ข้อตกลงต่อ NIANID, กล่าว อ่านต่อ


วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตทำอะไร?

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เผยผลการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี พ.ศ. 2551 ซึ่งปีนี้มีคำถามพิเศษเกี่ยวกับการใช้งานสังคมออนไลน์

จากการสำรวจตั้งแต่เดือน ส.ค.-ก.ย. 2551 มีผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ผ่านเว็บไซต์เนคเทค และเว็บไซต์ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 14,809 คน โดย 40% ตอบแบบสอบถามผ่านเว็บไซต์เดลินิวส์ (www.dailynews.co.th)

ผลการสำรวจสรุปว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 57.6% ชาย 42.4% อยู่ระหว่างช่วงอายุ 20-29 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา

แต่ที่น่าจับตามอง คือ ผลสำรวจปีนี้พบว่า ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นิยมเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตจากที่ทำงานเพิ่มสูงขึ้น จากปีที่แล้ว 38.6% เป็น 44.9% ขณะที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตจากที่บ้านก็มีปริมาณลดลงจาก 47.9% ในปีที่แล้วเหลือ 44.8% และการใช้งานในร้านอินเทอร์เน็ตก็มีปริมาณลดลงจาก 7.8% ในปีที่แล้ว เหลือเพียง 2.4%

ซึ่งการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเอดีเอสแอล หรือ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) มีปริมาณสูงถึง 43.5% สวนทางกับการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน ไดอัล-อัพ ซึ่งมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่องล่าสุดเหลือ 10.3% จาก 14.3% ในปีที่แล้ว และที่น่าจับตามองมากที่สุด คือการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือที่มีปริมาณสูงขึ้นอย่างมากจาก 2.8% ในปีที่แล้ว เพิ่มเป็น 7.1% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อ่านต่อ

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

เทรนด์ ไมโครเตือนภัย ช่องโหว่ที่เป็นอันตรายต่อดีเอ็นเอส

โปรดระวังภัยคุกคามข้อมูลบนเว็บที่จะเปลี่ยนไปเป็น “ภัยคุกคามระดับสูง” จากเดิมที่เป็นเพียงแค่ภัยคุกคาม “ปกติ” ที่มักจะเกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของพวกเราที่เชื่อมต่อไปยังดีเอ็นเอส หรือ DNS (Domain Name System) ซึ่งอาจจะถูกโจมตีจากภัยร้ายที่ซ่อนอยู่ได้ คำอธิบายสำหรับอันตรายที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากภัยคุกคามในปัจจุบันที่อยู่ในระดับ “สูง”


เมื่อเร็วๆ นี้พบว่าดีเอ็นเอส (DNS) ที่ถูกโจมตีจากภัยร้ายที่ซ่อนอยู่นั้นมีผลกระทบกับผู้ค้าผลิตภัณฑ์ทั่วโลก สำหรับฝ่ายบริหารจัดการระบบไอทีมองว่าสภาพแวดล้อมแบบนี้ควรจะตรวจสอบช่องทางรักษาความปลอดภัยไอทีอย่างใกล้ชิดและจัดการแก้ไขช่องโหว่(แพทช์)โดยอัตโนมัติ รวมทั้งนำเทคโนโลยีการป้องกัน และการตรวจสอบสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ดีพอมาใช้ ดังนั้นผู้ใช้ตามบ้าน(โฮมยูส)หรือผู้ใช้งานทั่วไปจึงควรมั่นใจว่าได้จัดการแก้ไขช่องโหว่(แพทช์) ให้อัพเดทและติดตั้งเทคโนโลยีการป้องกันภัยคุกคามข้อมูลให้พร้อมอยู่เสมอ


พอล เฟอร์กูสัน นักวิจัยด้านภัยคุกคามขั้นสูง บริษัท เทรนด์ ไมโคร ให้ความเห็นว่าทุกองค์กรทั่วโลกที่มีเซิร์ฟเวอร์ดีเอ็นเอสเป็นของตนเองควรให้ความสนใจอย่างมาก สิ่งสำคัญในการระบุว่าคุณตกอยู่ในภาวะเสี่ยง และมีช่องโหว่ที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในปัจจุบัน นี่ไม่ใช่แค่ช่องโหว่ร้ายแรงแต่ยังมีเป็นช่องโหว่ที่สร้าง “สีสัน” บางอย่างให้เกิดขึ้นด้วย อ่านต่อ

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551

จะทำอย่างไร? เมื่อชื่อโดเมนถูกขโมย

เว็บฯ หาย! ชื่อโดเมนถูกขโมย ก็ไม่ต่างอะไรกับบ้านหาย จากมีที่อยู่ก็กลายเป็นไร้ที่อยู่ เท่านั้นยังไม่พอ รายได้หดหาย ลูกค้าเดิมหนีอีกต่างหาก แล้วทีนี้จะตามบ้านคืนจากพวกมิจฉาชีพที่มาแอบขโมยไปได้อย่างไร? จะต้องเสียค่าไถ่ไหม? แล้วจะไปขอให้ใครช่วยทวงบ้านคืนดี?

เว็บไซต์สุดรัก ชื่อโดเมนแสนหวงอยู่ดีๆ ก็ถูกขโมย เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เพิ่งจะเคยเกิดขึ้น หลายๆ คนต้องเจอะเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อนแล้ว บ้างก็ต้องเสียค่าไถ่ให้กับมิจฉาชีพพวกนี้ไปเพื่อจะให้ได้ชื่อโดเมนของตัวเองคืนมา บางรายไม่มีเงินเสียค่าไถ่ก็ต้องตัดใจปล่อยให้ชื่อโดเมนนั้นไปอยู่ในมือโจรไป แล้วไปสร้างใหม่ในภายหลัง ซึ่งก็ต้องใช้เวลาและพลังงานอีกมาก กว่าจะมีคอนเทนต์และคนเข้าชมเท่าของเดิม

แต่เมื่อถึงยุคที่อินเตอร์เน็ตบูมเช่นนี้แล้ว ยุทธวิธีการเรียกของตัวเองคืนก็ย่อมเปลี่ยนไป ไม่ต้องดิ้นรนอยู่คนเดียวอีกต่อไป เพราะมีหลายฝ่ายให้ความสำคัญ และร่วมมือรักษาสิทธิ์ รักษาผลประโยชน์ที่เสียไป เพื่อให้เจ้าทุกข์ได้ของตัวเองคืนมา

เพิ่งจะมีเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ ผ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้กับเว็บไซต์ Bcoms.net ถูกขโมยชื่อโดเมนแล้วเรียกกลับคืนมาได้ แม้ว่ารายนี้จะไม่ต้องเสียเงินค่าไถ่เพื่อซื้อเว็บฯ ตัวเองคืนจากโจร แต่ก็ต้องสูญเสียลูกค้าเดิมไปบางส่วน และยังถูกเข้าใจผิดว่ากลายเป็นเว็บไซต์ที่ทำเรื่องอนาจารไป รายได้ที่ต้องสูญเสียไปในช่วงที่ชื่อโดเมนถูกขโมยยังไม่เท่ากับชื่อเสียงที่ต้องพังทลายและต้องใช้เวลากู้คืนมาใหม่

แล้วถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับคุณจะทำอย่างไร?

  1. ติดต่อกับผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมนหลังจากที่แน่ใจแล้วว่าชื่อโดเมนเว็บไซต์ของคุณถูกขโมยอย่างแน่นอนแล้ว ควรจะรีบแจ้งไปยังผู้ที่รับจดทะเบียนชื่อโดเมนที่คุณไปใช้บริการอยู่ เพื่อแจ้งเรื่องการถูกขโมยชื่อโดเมนให้ทราบ และขอความช่วยเหลือให้ช่วยติดต่อสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ของ ICANN หรือ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers ซึ่งก็คือหน่วยงานทางเทคนิคที่ดูแลรับผิดชอบความมีเสถียรภาพของระบบอินเตอร์เน็ตโลก มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการแจกจ่ายชื่อโดเมนและหมายเลข IP Address เพื่อขอชื่อโดเมนคืน รวมทั้งให้ช่วยติดต่อไปยังผู้ให้บริการจดชื่อโดเมน ที่ชื่อโดเมนเว็บไซต์ของคุณถูกโอนย้ายไป


  2. ค้นหาเอกสารเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ

  3. หลังจากที่แจ้งเรื่องไปแล้วคุณก็ต้องมีหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของชื่อโดเมนของคุณด้วย เช่น อีเมล์ยืนยันการจดทะเบียนชื่อโดเมนจากผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมน เอกสารการชำระเงินค่าจดทะเบียนชื่อโดเมน และข้อมูลการตรวจสอบชื่อ และสิทธิ์การครอบครองชื่อโดเมนจากระบบค้นหาชื่อโดเมน (Whois) ที่มีให้บริการบนเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าชื่อโดเมนนี้ใครเป็นเจ้าของ เช่นที่ Internic.com, Thnic.co.th, Checkdomain.com เป็นต้น

    นอกจากนี้ก็ควรจะมีเอกสารของการถูกขโมยโดเมนที่พอจะรวบรวมได้เตรียมเอาไว้ด้วย เช่น อีเมล์แจ้งการโอนย้ายชื่อโดเมนไปยังผู้ให้บริการรายอื่น ข้อมูลการติดต่อกับมิจฉาชีพที่อาจจะติดต่อมาเพื่อขอเรียกค่าไถ่ชื่อโดเมน เป็นต้น
    ขอหนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือชมรมผู้ประกอบการธุรกิจโฮสติง
    หลังจากเตรียมเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของเรียบร้อยแล้วก็ต้องไปขอหนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือชมรมผู้ประกอบการธุรกิจโฮสติง เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของชื่อโดเมนของตัวเองอีกครั้ง โดยปัจจุบันมีกฎหมายคุ้มครองในกรณีที่เกิดปัญหาการขโมยโดเมน หรือมีการทำให้เว็บไซต์เสียหายโดยที่เจ้าของชื่อโดเมนนั้นไม่ยินยอม ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท


  4. ส่งเอกสารไปยัง ICANN เพื่อขอเอกสารยืนยันความเป็นเจ้าของ

  5. หลังจากเตรียมเอกสารทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการส่งเอกสารไปยัง ICANN ซึ่งขั้นตอนนี้คงต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมน ในการส่งเอกสารต่างๆ ต่อไปให้ยัง ICANN รวมทั้งยังต้องรอการตรวจสอบเอกสาร และรอคำยืนยันความเป็นเจ้าของจาก ICANN อีกครั้ง


  6. ส่งเอกสารไปยังผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมนที่มิจฉาชีพโอนย้ายชื่อโดเมนของคุณไป

  7. ถึงเวลาทวงคืนชื่อโดเมนสักที หลังจากที่ต้องยุ่งยากกับการดำเนินการเรื่องเอกสารอยู่นาน สำหรับขั้นตอนนี้อาจจะยุ่งยากและใช้เวลาอยู่สักหน่อย เพราะเหตุการณ์ถูกขโมยโดเมนเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และทุกๆ วันก็จะมีการแจ้งเรื่องการถูกขโมยชื่อโดเมนไป ซึ่งมีทั้งที่เป็นเรื่องจริงและเรื่องหลอก ดังนั้นหากคุณไม่มีหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของที่ชัดเจน ไม่มีการตามเรื่อง ไม่มีการชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่แรก โอกาสที่คุณจะทวงคืนชื่อโดเมนของคุณกลับคืนมานั้นอาจจะไม่สำเร็จ

    เมื่อเจอปัญหาการขโมยโดเมนเช่นนี้แล้ว บางรายอาจจะตัดปัญหาด้วยการทิ้งโดเมนนั้นไป ไม่มีการแจ้งความ เพราะกลัวความยุ่งยากเรื่องเอกสารและการดำเนินการต่างๆ โดยเฉพาะการใช้บริการจดทะเบียนโดเมนกับบริษัทในต่างประเทศก็ยิ่งยุ่งยากในเรื่องของภาษาที่อาจจะสื่อสารกันไม่ค่อยเข้าใจ ดังนั้นการเลือกใช้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนกับบริษัทในประเทศไทยน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างน้อยก็ตัดปัญหาเรื่องการสื่อสารออกไปได้ รวมทั้งหากเกิดปัญหาก็ยังตามตัวกันได้ ขอความช่วยเหลือกันได้อีกด้วย
    อ่านต่อ