วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

Buckyballs ทำลายเซลล์ได้-ความเสี่ยงจากนาโนเทคโนโลยี

Hosting
จากการศึกษาล่าสุดพบว่า Buckyballs ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดนาโนจะทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ร่างกายได้ โดยโมเลกุลของมันจะสามารถซึมผ่านเข้าไปในเซลล์ของคนและสัตว์ได้อย่างง่ายดาย และมีความเป็นไปได้มากที่โมเลกุลของ buckyball จะเป็นพิษต่อคนและสิ่งมีชีวิตอื่นได้

Peter Tieleman นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย Calgary ได้ใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ เพื่อออกแบบปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลของ C-60 หรือ buckyball กับเยื่อหุ้มเซลล์และพบว่าอนุภาคนาโนนี้สามารถผ่านเข้าไปในเซลล์ได้โดยแพร่ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปและปราศจากการทำลายเชิงกลด้วย

Buckyball ได้ถูกผลิตขึ้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเคลือบและวัสดุ มีการจำหน่ายแพร่หลาย แต่ไม่มีการตรวจหาความเป็นพิษมาก่อน จากงานวิจัยพบว่า buckyball สามารถข้ามผ่านระหว่างผนังที่กั้นกระแสเลือดและสมองได้ และเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์ ซึ่งทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายเกี่ยวกับความเป็นพิษของมันและผลกระทบเมื่อมัน ถูกปล่อยออกไปสู่สิ่งแวดล้อม

ผลจากแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์พบว่าอนุภาคของ buckyball สามารถถูกละลายในเยื่อหุ้มเซลล์ได้ และผ่านเข้าไปภายในเซลล์ จากนั้นจะกลับคืนไปสู่รูปอนุภาคตามเดิมทำให้เซลล์นั้นถูกทำลายได้

โมเลกุลทรงกลมของ C-60 ถูกค้นพบในปี 1985 ทำให้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Sussex และ Rice ได้รับรางวัล Nobel สาขาฟิสิกส์ และมีการตั้งชื่อโมเลกุลทรงกลมและกลวงว่า Buckminsterfullerene ตามชื่อสถาปนิกชาวอเมริกัน Richard Buckminster Fuller ผู้ประดิษฐ์ Geodesic dome (หลังคาโค้งนูนที่มีตาข่ายของเส้นประกอบด้วยส่วนผสมของพีระมิดสามเหลี่ยมและ วงกลม) อ่านต่อ